วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Michael Michalko unveils the secrets of creative genius and brings life-changing creative techniques within everyone's reach.  His arsenal of powerful creative thinking tools can be used to tackle virtually any type of technical problem and to create new ideas.  Without a doubt, his tools are the closest thing there is to a tactical instruction manual for thinking like a genius.  His tools will help you approach problems with new vision, and you will discover a world of innovative solutions to everyday, and some not-so-everyday, challenges.  Take this opportunity to explore and study Michael's creative thinking techniques, exercises, articles, and experiments.  A trip to your local library was never this worthwhile... or so much fun.


ไมเคิล Michalko เผยความลับของอัจฉริยะนำความคิดสร้างสรรค์และเทคนิคการเปลี่ยนแปลงชีวิตความคิดสร้างสรรค์ในการเข้าถึงของทุกคน คลังแสงของพระองค์ที่ทรงพลังความคิดสร้างสรรค์เครื่องมือที่สามารถนำมาใช้เพื่อรับมือกับปัญหาความจริงประเภทของปัญหาด้านเทคนิคและการสร้างความคิดใหม่ ๆ โดยไม่ต้องสงสัยเครื่องมือของเขาเป็นสิ่งที่ใกล้มีในคู่มือการใช้กลยุทธ์สำหรับการคิดอย่างอัจฉริยะ เครื่องมือของเขาจะช่วยให้คุณใกล้ปัญหาเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ใหม่และคุณจะได้พบโลกของโซลูชั่นนวัตกรรมเพื่อชีวิตประจำวันและบางรายไม่ - SO - ทุกวัน, ความท้าทาย ใช้โอกาสในการสำรวจและศึกษาเทคนิคการคิดสร้างสรรค์ของไมเคิล, การออกกำลังกายบทความนี้และการทดลอง การเดินทางไปห้องสมุดท้องถิ่นของคุณได้ไม่คุ้มค่านี้ ... หรือสนุกมาก

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บทนำหลักธรรมาภิบาล

       หลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ในความถูกต้องเป็นธรรมมีดังนี้
      1.หลักนิติรรม (The Rule of Law)
      2.หลักคุณธรรม (Morality)
      3.หลักความโปร่งใส (Accountability)
      4.หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
      5.หลักความรับผิดชอบ (Responsibility)
      6.หลักความคุ้มค่า (Cost-effectiveness)

บทนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

        ''เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญญาที่พระบาทสมเด้จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสมาดดยตลอดนานกว่า 30 ปี  ซึ่งประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้
        1.ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่มากน้อยเกินไป
        2.ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
        3.การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ
        ประกอบด้วย 2 เงื่อนไข กล่าวคือ
       1.เงื่อนไขด้านความรู้ ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับด้านวิชาการต่างๆ
       2.เงื่อนไขด้านความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
คโนโลยีสารสนเทศกับวิถีเศรษฐกิจพอเพียง  
 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
            เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลง
            เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติ บนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
            1.  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่น การผลิต และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
            2.  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
            3.  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
            จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ด้าน ICT โดยมุ่งให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความพอประมาณ , ความมีเหตุผล , และความจำเป็นจะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ดังนี้
            1.  การนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในกิจการของผู้ประกอบการ เพื่อลดต้นทุน ขยาย และเพิ่มส่วนแบ่งตลาด รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของผลิตภัณฑ์ และให้บริการในการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพให้กับลูกค้า
            2.  การนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการบริหาร และการให้บริการของภาครัฐ โดยให้รัฐจัดตั้งองค์กรกลางระดับชาติร่วมรับผิดชอบการพัฒนา และส่งเสริมการใช้ ICT ในภาครัฐเพื่อให้เกิดบูรณาการ และเอกภาพในระบบข้อมูล การวางแผน การประสานงาน การจัดสรรงบประมาณ และการจัดซื้อ    จัดจ้างที่โปร่งใส  ให้ตรงความต้องการ  และลดการซ้ำซ้อนในการลงทุน  เพื่อให้ภาครัฐสามารถรวบรวม แลกเปลี่ยน และใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ด้วยมาตรฐานเปิด และมีระบบที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูงสำหรับการบริหารของหน่วยงานภาครัฐ และการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
            3.  การพัฒนา และการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์ให้ใช้ประโยชน์ ICT ในการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมการเรียนรู้ที่มีศักยภาพ และวัฒนธรรมอันดีงาม
                ทั้งนี้ เงื่อนไข การตัดสินใจ และการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
            1.  เงื่อนไขด้านความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้น มาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
            2.  เงื่อนไขด้านความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
ระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล(GOOD GOVERNANCE)
         
          หลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ใน ถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแผนภาพ ดังนี้
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
          หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของ ตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย
2. หลักคุณธรรม (Morality)
         หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
         หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจนในการนี้ เพื่อเป็น สิริมงคลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความโปร่งใส ขออัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งในองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ได้แก่ ผู้ที่มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
          หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility )
         หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)
         หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความหมายการประยุกต์ใช้คอมฯ

การประยุกต์ใช้ภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์ โดย ไม่มีผู้แต่ง
          ในยุคสารสนเทศ (Information age) นี้  ข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนสามารถเสาะแสวงหาหรือในทางกลับกัน  ก็สามารถเผยแพร่ให้บุคคล ทั่วไปได้รับทราบถึงข้อมูล  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อวงการต่างๆ อย่างกว้างขวาง  การส่งและการรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นภาษาไทยนับว่ามีความสำคัญต่อทุกวงการ  ไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการหรือด้านธุรกิจทั้งนี้เพื่อจะได้ติดต่อสื่อสารกันด้วยความสะดวกโดยไม่จำกัดเพศ  หรือการศึกษา  โดยใช้ภาษาไทยเป็นสื่อกลางในการติดต่อ
          เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการศึกษาและการประกอบอาชีพมากขึ้น  ความต้องการที่จะทำให้คอมพิวเตอร์แสดงผลภาษาไทยไปจนถึงสามารถเข้าใจภาษาไทย  และโต้ตอบด้วยภาษาไทยได้ก็เพิ่มมากขึ้น  ดังนั้น  ในบทนี้จึงได้นำเสนอความรู้เรื่องการประมวลผล  และการประยุกต์ใช้ภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์  นับตั้งแต่เรื่องการประมวลผลอักขระ (Character processing)การประมวลผลคำ (Word processing)  การประมวลผลข้อความ (Text processing)  ไปจนถึงการประมวลผลภาพ (Image  processing)  ของภาษาไทย  เพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นในการเรียนรู้เรื่องนี้
          เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการรับข้อมูล  แสดงผลข้อมูล  และพิมพ์ข้อมูลมากขึ้น  จนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนในยุคสารสนเทศนี้  การประยุกต์ใช้ภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์จึงได้รับการทำวิจัยและพัฒนาให้สามารถประมวลผลบนคอมพิวเตอร์ได้ด้วยวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์(Computer  Engineering)  ผสมผสานกับเทคโนโลยีทางด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติ(Natural  Language  Processing)  ทางด้านการประมวลผลภาพ (Image  Processing)  และความรู้ทางภาษาศาสตร์ (Linguistics)  ด้วยความหวังว่าจะสามารถทำวิจัยและพัฒนาโปรแกรม  เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษาไทยด้วยฐานความรู้ภาษาไทยทั้งด้านอักขรวิธี  วจีวิภาค  วากยสัมพันธ์อรรถศาสตร์  รวมทั้งฉันทลักษณ์ได้
          ทวีศักดิ์  กออนันตกูล  (๒๕๓๔)  ได้เขียนไว้ใน คอมพิวเตอร์กับภาษาไทย :  การพัฒนามาตรฐานเบื้องต้นสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศของไทยเรื่องการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภาษาไทยทั้งทางด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์  และยังได้แสดงให้เห็นแผนผังภาพรวมของการศึกษาวิจัยทางภาษาไทย  ซึ่งแบ่งออกเป็น    แกน  คือ  แกนนอนเป็นการแจกแจงความเป็นศิลปะและวิทยาศาสตร์ส่วนแกนตั้ง  เป็นความนึกคิดส่วนผิวและส่วนลึก(ดูแผนผัง  ๑ ประกอบ)  ดังนั้น  การที่จะทำให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้ภาษาไทยได้ทุกศาสตร์และสาขาวิชาตามนี้  ก็ยังคงต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มขึ้นอีกมาก  เพื่อที่จะได้โยงศาสตร์ ๒ ศาสตร์นี้เข้าด้วยกัน
          เมื่อได้รวบรวมผลงานวิจัยและพัฒนาเท่าที่ผ่านมา  ก็พบว่า  มีอาจารย์  ผู้เชี่ยวชาญ  และนักวิจัยทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน  ได้สนใจที่จะศึกษาค้นคว้าทำวิจัยและพัฒนาโปรแกรมการประมวลผลภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง  เพื่อให้ผู้ใช้คนไทยสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งหมายรวมตั้งแต่การประมวลผลอักขระ  คำข้อความ  ไปจนถึงการประมวผลภาพภาษาไทยในบทนี้จะอธิบายโปรแกรมการประมวลผลบางโปรแกรม  เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานให้สามารถเข้าใจเรื่องการประยุกต์ใช้ภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโปรแกรมเหล่านี้  ได้แก่  โปรแกรมการเรียงลำดับคำไทย  โปรแกรมตัดคำภาษาไทยโปรแกรมการสืบค้นคำไทย  โปรแกรมการสืบค้นคำไทยตามเสียงอ่าน  โปรแกรมแปลภาษาและโปรแกรมรู้จำอักขระไทยด้วยแสง  เป็นต้น